วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จุลศักราช







จุลศักราชย่อว่า จ.ศ. ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.1182 โดยพระเจ้าโพพาสอระหัน กษัตริย์พม่า
จุลศักราช 1 ตรงกับ พ.ศ. 1182 จุลศักราชจึงน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี
การเทียบเปลี่ยนจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ พ.ศ. = จ.ศ. +1181
จ.ศ. = พ.ศ. – 1181



ในสมัยโบราณ การนับวันขึ้นปีใหม่ของจุลศักราชใช้แบบจันทรคติ จึงไม่
สามารถระบุวันที่แน่นอนได้ โดยกฎคัมภีร์สุริยยาตรระบุว่า วันขึ้นปีใหม่อยู่ระหว่าง
ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ถึง 5 ค่ำ เดือน 6ในปัจจุบันนี้เพื่อความสะดวกจึงกำหนดจุลศักราช
ขึ้นปีใหม่กลางเดือนเมษายน เทศกาลเนื่องในการขึ้นจุลศักราชใหม่ เรียกว่า
สงกรานต์ มี 3 วัน คือวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14
เมษายน เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า เถลิงศก หรือ วันขึ้นปีใหม่
ไทยใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน
จดหมายเหตุพระราชพงศาวดารและเอกสารราชการ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเลิกใช้และใช้รัตนโกสินทร์ศกแทน
จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ.

ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปีเลยทีเดียว

การเรียกศกตามเลขท้ายปี
ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้

1.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
2.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
3.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
4.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
5.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
6.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
7.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
8.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
9.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
10.ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น